ความเป็นส่วนตัว VS ความปลอดภัย แตกต่างกันอย่างไร ?

ความเป็นส่วนตัว VS ความปลอดภัย แตกต่างกันอย่างไร ?

ความเป็นส่วนตัว VS ความปลอดภัย แตกต่างกันอย่างไร ?

ความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัยคือสิ่งจำเป็นสำหรับโลกแห่งข้อมูล โดยแต่ละส่วนจะควบคุม ดูแล และปกป้องข้อมูลผู้ใช้งานภายในองค์กร

โดยปัจจุบันมีการวางมาตรฐานความปลอดภัยข้อมูลเหล่านี้ ซึ่งมีผลสำคัญต่อการเติบโตด้านเทคโนโลยี

มีบริการป้องกันระดับพรีเมียมที่ดูแลความเป็นส่วนตัวพร้อมทั้งรักษาความปลอดภัยทั้งแบบรายบุคคล และองค์กร ก่อนที่คุณตัดสินใจลงทุน เราอยากให้คุณทราบถึงความแตกต่างระหว่างความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย รวมถึงวิธีป้องกันตนเองจากการแอบเก็บข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต

ความเป็นส่วนตัวบนโลกดิจิทัลคืออะไร?

ความเป็นส่วนตัวบนโลกดิจิทัลเป็นสิทธิ์ส่วนบุคคลในการเก็บข้อมูลดิจิทัลเป็นความลับ ผู้ใช้ออนไลน์ส่วนใหญ่มองว่าความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์นั้นควรไรับการปกป้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่ละเอียดอ่อน

ผู้ใช้งานต้องการทราบว่าใครสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ และใครสามารถเก็บข้อมูลส่วนบุคคลได้ เนื่องจากสิทธิความเป็นส่วนตัวทางดิจิทัล องค์กรจำนวนมากต้องแจ้งให้ทราบว่าเก็บข้อมูลใด จัดเก็บอย่างไร และนำไปทำอะไรต่อ

ความสำคัญของข้อมูลความเป็นส่วนตัว

ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลมีความสำคัญต่อการปกป้องข้อมูลที่ละเอียดอ่อนของผู้ใช้ออนไลน์ทั้งหมด เช่น Google, Facebook และ Amazon ที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล เช่น

  • ชื่อ
  • ที่อยู่
  • ชื่อผู้ใช้
  • รหัสผ่าน
  • หมายเลขโทรศัพท์
  • ข้อมูลการชำระเงิน และบัตร
  • ที่อยู่อีเมล
  • หมายเลขใบขับขี่

การจัดลำดับความสำคัญของความเป็นส่วนตัวทางดิจิทัลสามารถช่วยปกป้องคุณ และลดความเสี่ยงจากอันตราย

ความปลอดภัยบนโลกดิจิทัลคืออะไร?

การรักษาความปลอดภัยดิจิทัลคือการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล และองค์กร โดยความปลอดภัยทางดิจิทัลแบ่งเป็นหัวข้อหลักๆ โดยมีการรักษาความปลอดภัยตามประเภทต่างๆ

  • ความปลอดภัยทางไซเบอร์: การปกป้องข้อมูลจากผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต
  • ความปลอดภัยของข้อมูล: การปกป้องข้อมูลตลอดวงจรชีวิต
  • การรักษาความปลอดภัยแบบ Zero trust: รักษาความปลอดภัยที่อนุญาตการเข้าถึงเฉพาะผู้ใช้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

เครื่องมือรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์
การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่มีประสิทธิภาพใช้เครื่องมือที่หลากหลายในการปกป้องข้อมูลที่ละเอียดอ่อนเช่น

  • VPN: เล่นเว็บที่ได้รับการป้องกันความเป็นส่วนตัวในทุกที่ด้วย VPN ซึ่งปิดบังตำแหน่ง IP และที่อยู่ของคุณ
  • ไฟร์วอลล์: ไฟร์วอลล์ปกป้องระบบข้อมูลโดยเน้นไปที่แฮกเกอร์ และผู้ไม่หวังดี
  • การเข้ารหัส: ข้อมูลที่เข้ารหัสถูกแฮกได้ยากกว่าข้อมูลที่ไม่เข้ารหัส
  • ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส: ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสช่วยให้ผู้ใช้ระบุแอปพลิเคชันที่อาจเป็นอันตราย
  • การตรวจสอบสิทธิ์ผู้ใช้: ตรวจสอบสิทธิ์ผู้ใช้ เช่น การยืนยันตัวตนแบบสองชั้นป้องกันผู้ใช้ที่ไม่ได้รับอนุญาต

ความเป็นส่วนตัว VS ความปลอดภัย
ความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัยทำงานร่วมกัน แต่มีความแตกต่างที่สำคัญระหว่างสองสิ่งนี้

เมื่อพูดถึงความเป็นส่วนตัวควรพิจารณาอะไรบ้าง

  • การใช้และควบคุมข้อมูล
  • จัดลำดับความสำคัญของแต่ละบุคคลอย่างไร
  • การคุ้มครองทางกฎหมายที่แตกต่างกันไปตามอายุ ประเภทของข้อมูล และสถานที่

เมื่อพูดถึงความปลอดภัยทางดิจิทัล ผู้ใช้ควรพิจารณาเรื่อง

  • การป้องกันข้อมูล
  • มีการจัดลำดับความปลอดภัยทั้งบุคคล และองค์กรอย่างไร
  • ความปลอดภัยไม่มีกฏหมายคุ้มครอง

ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยนั้นแตกต่างกันอย่างมาก การดูแลทั้งสองส่วนนี้สามารถลดความเป็นไปได้ของการถูกละเมิดความปลอดภัยของข้อมูลทั้งภาครัฐและเอกชน

6 เคล็ดลับการป้องกันความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัย

  1. ท่องเว็บด้วย VPN
    ไม่ว่าคุณจะต้องการเข้าถึงเนื้อหาต้องห้ามในประเทศของคุณ หรือต้องการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณด้วยการรักษาความปลอดภัยเพิ่มเติม ให้ลองพิจารณาตัวเลือก VPN ของเราสำหรับ Windows และ Android
    เครื่องมือรักษาความปลอดภัยประเภทนี้จะปิดบังที่อยู่ IP และปกป้องข้อมูลจากบุคคลที่สาม แม้ว่าอาชญากรไซเบอร์จะแฮกการเชื่อมต่อของคุณ VPN จะยังคงป้องกันและเข้ารหัสข้อมูลต่อไป
  2. สื่อสารด้วยการเข้ารหัส
    ไม่แนะนำให้แชร์ข้อมูลที่ละเอียดอ่อนแบบดิจิทัล แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการเข้ารหัสจากต้นทางถึงปลายทาง การเข้ารหัสจะหยุดการดักจับข้อมูลของอาชญากรไซเบอร์ไม่ให้สามารถอ่านและบันทึกการสื่อสารดิจิทัลได้ ปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ส่งและผู้รับ รูปแบบการเข้ารหัสเฉพาะ เช่น การเข้ารหัส AES และการเข้ารหัส PGP สามารถใช้เพื่อปกป้องข้อมูลในแพลตฟอร์มเฉพาะได้
  3. จำกัดการแชร์ข้อมูลบนสื่อออนไลน์
    คุณสามารถปกป้องความเป็นส่วนตัว และสนับสนุนการรักษาความปลอดภัยส่วนบุคคลได้โดยจำกัดสิ่งที่แชร์บนแพลตฟอร์มโซเชียล ร่องรอยดิจิทัลที่ใช้งานออนไลน์สามารถติดตามค้นหาได้ หากผู้ใช้แชร์ข้อมูลส่วนตัว เช่น หมายเลขบัตรเครดิต รหัสผ่าน ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์บนแพลตฟอร์มโซเชียล อาชญากรไซเบอร์สามารถค้นหา และขโมยข้อมูลเหล่านั้นได้
  1. ใช้เครื่องมือจัดการรหัสผ่าน
    โปรแกรมจัดการรหัสผ่านดิจิทัลเป็นระบบรักษาความปลอดภัยที่คุณ และองค์กรสามารถใช้เพื่อจัดเก็บและป้องกันรหัสผ่านได้ การรักษาความปลอดภัยประเภทนี้มีให้เลือกแบบฟรีหรือแบบชำระเงิน ผู้ใช้ที่ได้รับอนุญาตสามารถส่งข้อมูลภายในระหว่างกันได้ ผู้ใช้ยังใช้ตัวโปรแกรมจัดการรหัสผ่านเพื่อจัดเก็บ Username และรหัสผ่านที่ไม่ซ้ำกันสำหรับหลายบัญชี ซึ่งสามารถเพิ่มความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวได้อีกด้วย
  2. ลองใช้งานตัว AD Block
    สำหรับผู้ที่เล่นเว็บไซต์ คุณสามารถดาวน์โหลดตัวบล็อกโฆษณาและส่วนขยายการบล็อกคุกกี้เพื่อปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลจากการเก็บรวบรวมโดยไม่ได้รับอนุญาต
  3. ติดตั้งซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส
    ตัวเลือกซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส — สำหรับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น iPhone และ Android — สามารถช่วยปกป้องอุปกรณ์จากมัลแวร์ที่ขโมยข้อมูล นอกจากนี้ ซอฟต์แวร์ป้องกันมัลแวร์ยังสามารถแจ้งเตือนผู้ใช้ถึงแอป เว็บไซต์ และซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่อาจเป็นอันตราย

ซอฟท์แวร์ Antivirus ที่มีประสิทธิภาพบนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อของคุณเช่น Adaptive Defense 360 หรือ WatchGuard EPDR ที่นำมาโดยระบบ EDR สำหรับป้องกัน ransomware และภัยคุกคามทางไซเบอร์ทุกชนิด ไม่หน่วงเครื่อง ใช้ทรัพยากรเครื่องน้อยที่สุด พร้อมตัว Web Access Control ตั้งค่าการเข้าถึงเว็บไซต์ของเครื่องได้ หากมีการเคลื่อนไหวที่ต้องสงสัยทางตัวซอฟท์แวร์จะทำการตัดการเชื่อมต่อทันทีเพื่อป้องกันความปลอดภัยของคุณ หากท่านสนใจสามารถขอทดลองใช้ได้ฟรี 30 วัน

Credit https://www.pandasecurity.com/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *