สายชาร์จดูดเงินได้จริงหรือไม่ ?

สายชาร์จดูดเงินได้จริงหรือไม่

สายชาร์จดูดเงินได้จริงหรือไม่ ? เนื่องจากมีข่าวระบาดบนโลกออนไลน์มีผู้ใช้โซเชียลมีเดียโพสต์ว่า ได้ชาร์จมือถือวางทิ้งไว้ แต่จู่ ๆ เครื่องดับ เมื่อเปิดโทรศัพท์ขึ้นมาอีกครั้ง กลับมีข้อความจากแอพธนาคารแจ้งว่า มีเงินออกไปหมดบัญชี

เสียบสายชาร์จดูดเงินได้จริงหรือไม่ ?

ผู้เชี่ยวชาญอย่าง พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ได้มีการพูดถึงเรื่องนี้ว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีนี้มีขายอยู่จริง หน้าตาเหมือสายชาร์จทั่วไปเส้นหนึ่งราคาอยู่ที่ 4-5 พันบาท ซึ่งรองรับทั้งระบบไอโพน และแอนดรอยด์

การทำงานของสายชาร์จ

ปัจจุบันเทคโนโลยีสายชาร์จนี้มีการฝังตัวส่งสัญญาณไร้สาย Accesss Point เมื่อทำการเสียบสายเข้ายังอุปกรณ์แล้วก็สามารถเข้าถึงข้อมูลในโทรศัพท์ได้ จากนั้นแฮกเกอร์สามารถขโมยข้อมูลสำคัญต่างๆ เช่น เลขบัญชีธนาคาร , รหัสธนาคาร หรือส่ง Malware อื่นๆ เข้ามาเพิ่มได้

มิจฉาชีพพยายามหาแนวทางใหม่ในการขโมยเงินของเราเช่น SMS , Callcenter , ปลอมเว็บธนาคาร , หลอกให้โหลดสติกเกอร์ฟรีใน line และล่าสุดสายชาร์จดูดเงิน ซึ่งข่าวที่ออกมาผู้เสียหายไม่ได้ถูกสายชาร์จนี้ดูดเงินออกไป แต่เป็นการติดตั้งแอปหาคู่ปลอมๆ ที่มีชื่อว่า Sweet Meet การที่คนทั่วไปกลัวว่าซื้อสายชาร์จตามร้านแล้วจะถูกดูดขโมยเงินนั้นเป็นไปได้ยากมาก เพราะสายชาร์จมีราคาสูงถึง 4-5 พันบาท

คุณคงไม่คิดซื้อสายชาร์จที่มีราคาสูงแบบนี้หรอกจริงมั้ย ? ในเมืองไทยกรณีที่เกิดส่วนจะเป็นการถูกหลอกล่อให้โหลดแอปปลอม , Malware , Trojan Banking ซึ่งมิจฉาชีพมีการพัฒนาโดยการทำรูปแบบ และโลโก้ที่เหมือนของแอปธนาคารจริง และไปลงใน google playstore ผู้ใช้งานบางคนอาจจะไม่ได้ดูละเอียดก็ทำการโหลดติดตั้งไป

แนวทางการรับมือ

1. ไม่คลิกลิงก์จาก SMS LINE และ อีเมลที่มีแหล่งที่มาที่ไม่รู้จักหรือไม่น่าเชื่อถือ

2. ไม่ดาวน์โหลดโปรแกรม นอกเหนือจากแหล่งที่ได้รับการควบคุมและรับรองความปลอดภัยจากผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการที่เป็น Official Store อาทิ Play Store หรือ App Store เท่านั้น

3. อัปเดต Mobile Banking ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดอยู่เสมอ หรือตั้งค่าให้มีการอัปเดตแบบอัตโนมัติ ซึ่งจะมีมาตรการป้องกันการควบคุมเครื่องทางไกลรวมถึงมีการปรับปรุงพัฒนาระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ

4. ไม่ใช้เครื่องโทรศัพท์มือถือที่ไม่ปลอดภัยมาทำธุรกรรมทางการเงิน อาทิ เครื่องที่ปลดล็อก (root/jailbreak) เพื่อให้สามารถติดตั้งแอปพลิเคชันใด ๆ ก็ได้ หรือใช้เครื่องที่มีระบบปฏิบัติการล้าสมัย เป็นต้น

5. ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อให้การติดตามแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างรวดเร็ว และหากลูกค้าธนาคารพบธุรกรรมผิดปกติ สามารถติดต่อคอลเซ็นเตอร์หรือสาขาของธนาคารที่ลูกค้าใช้งาน เพื่อแจ้งตรวจสอบและยืนยันความถูกต้องของธุรกรรมในทันที โดยธนาคารจะดูแลแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด

อุปกรณ์ IOT ทุกชิ้นสามารถถูกมิจฉาชีพโจมตีเพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนั้นแล้วเราควรจะมีการป้องกันอุปกรณ์ IOT เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น เพิ่มความป้องกันให้แน่นหนาขึ้นด้วยการติดตั้งซอฟท์แวร์ Antivirus ที่มีประสิทธิภาพบนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อของคุณเช่น Adaptive Defense 360 ที่นำมาโดยระบบ EDR สำหรับป้องกัน ransomware และภัยคุกคามทางไซเบอร์ทุกชนิด ไม่หน่วงเครื่อง ใช้ทรัพยากรเครื่องน้อยที่สุด พร้อมตัว Web Access Control ตั้งค่าการเข้าถึงเว็บไซต์ของเครื่องได้ หากมีการเคลื่อนไหวที่ต้องสงสัยทางตัวซอฟท์แวร์จะทำการตัดการเชื่อมต่อทันทีเพื่อป้องกันความปลอดภัยของคุณ หากท่านสนใจสามารถขอทดลองใช้ได้ฟรี 30 วัน

Credit https://workpointtoday.com/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *